วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

Q: จะต้องเรียน ดนตรี "นานแค่ไหน"กว่าจะ "เก่ง" ?



วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การสอบวัดระดับทางด้านดนตรีกับ LCM (London College of music)














London College of  Music (LCM at The University of West London, London)


LCM เป็นวิทยาลัยดนตรีสมัยใหม่ซึ่งให้ความรู้และการสนับสนุนบุคคลทั่วไปไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ เพื่อให้มีความสามารถเป็นนักดนตรีที่มีความสามารถรอบด้านและเป็นนักสื่อสารที่ดี บุคคลที่จบการศึกษาจากวิทยาลัยนี้จะมีความสามารถหลายด้านและมีความมั่นใจในตนเองซึ่งช่วยให้ประสบความสำเร็จเมื่อเข้าทำงาน LCM เป็นส่วนที่เน้นในด้านของศิลปะวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัย Thames Valley ที่ให้การสนับสนุนอย่างมากในด้านของศิลปะและวัฒนธรรมของเมืองลอนดอนด้านตะวันตกและในเขต Thames valley

ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในปี คศ. 1887 LCM ได้อุทิศตัวให้ในด้านการสอนดนตรี ได้เป็นสถาบันสอนดนตรีในปี 1939 และได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัย Thames Vallery University ในปี คศ. 1991 (ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็น University of West London)
คณะดนตรี London College of Music and Media มีขึ้นในปี คศ. 1997 โดยเปิดสอนทั้งโปรแกรมเต็มเวลาสำหรับทั้งผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญาตรีและผู้ยังไม่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี และยังมีแผนก จูเนียร์ คอลเลจ และแผนกที่สอนเฉพาะ part-time อีกด้วย
London College of Music and Media London College of Music (LCM) ได้จัดให้มีการสอบด้านดนตรีและสปีช, ดรามา และการสื่อสารในทวีปเอเชียมานานหลายสิบปีแล้ว มีศูนย์สอบทั่วโลกมากกว่า 250 แห่ง ในจำนวนนี้เป็นศูนย์ในทวีปเอเชียมากกว่า 50 แห่ง ทุกศูนย์จะได้รับการดูแลจากสำนักงานประจำโซนของมหาวิทยาลัย Thames Valley โดยใช้เครือข่ายซึ่งเป็นคนในพื้นที่เป็นตัวแทนของศูนย์อีกทีหนึ่ง

Piano Handbooks 2013   การสอบเกรดได้รับการยอมรับจากสถาบัน the Qualifications & Curriculum Authority (QCA). ซึ่งการยอมรับนี้เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้การสอบของ LCM ได้เป็นส่วนหนึ่งของ the National Qualifications Framework (NQF) ซึ่งหมายความว่าการสอบ LCM มีมาตรฐาน และคุณภาพการสอบเท่าๆกับการสอบของบอร์ดสอบอื่นๆ ที่ผ่านการรับรองการสอบที่จัดขึ้นมีสำหรับเครื่องดนตรีประเภทต่างๆ ทั้ง เปียโน เครื่องสาย เครื่องเป่า เครื่อง Percussion ขับร้องกีตาร์ และการสอบแบบ Leisure Play


การสอบ LCM รองรับผู้เข้าสอบสำหรับทุกระดับ ตั้งแต่ระดับต้น ระดับเกรด ไปจนถึงระดับมืออาชีพ ระดับดิโพลม่า (Diploma) ทั้งแบบการแสดง, การสอน, การแต่งเพลง, การคอนดัก และการวิจัย

"โรงเรียนดนตรี เมโลดิอุส เป็นศูนย์สำหรับการสอบ LCM ทุกๆปี ระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิหาคม และระหว่างเดือนพฤษศจิกายน-ธันวาคม ทางบอร์ดสอบจะจัดส่งผู้คุมสอบชาวอังกฤษมาเพื่อควบคุมการสอบของผู้เข้าสอบภาค ปฏิบัติแบบหนึ่งต่อหนึ่ง และยังมีการสอบข้อเขียนภาคทฤษฎีดนตรี (คลาสสิค และป๊อป) อีกด้วย" 



คำถามที่พบบ่อย

Q: การสอบที่นี่ต่างกับที่อื่นอย่างไร?
A: การสอบที่ LCM มีมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในทางสากลโดย the Qualifications & Curriculum Authority (QCA). ซึ่งการยอมรับนี้เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้การสอบของ LCM ได้เป็นส่วนหนึ่งของ the National Qualifications Framework (NQF)

Q: นักเรียนจำเป็นต้องสอบหรือไม่?
A: ทางโรงเรียนฯ แนะนำให้นักเรียนที่ได้รับการประเมินผลจากทางคุณครู ได้เข้าร่วมการสอบซึ่งจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยสิ่งที่นักเรียนจะได้รับคือ ความกระตือรือล้น , ได้เข้าร่วมการสอบวัดผลและได้คำแนะนำการเล่นดนตรีกับคุณครูระดับสากล 

Q: การสอบยากหรือไม่ ถ้าผ่านหรือไม่ผ่านการสอบจะทำอย่างไร?
A: นักเรียนจะได้รับการประเมินก่อนการสอบเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน เพื่อจัดให้สอบให้ตรงกับระดับความรู้ความสามารถของนักเรียน ดังนั้น นักเรียนจะมีเวลาในการฝึกซ้อม เพลงสอบ,เทคนิค,ความรู้ ต่างๆ อย่างน้อย3-5 เดือนล่วงหน้า ดังนั้น โดยส่วนใหญ่ผู้ที่เข้าสอบจะผ่านการสอบแน่นอนหากมีการฝึกฝนมากพอ 
ในกรณีที่ไม่ผ่าน ต้องเข้าสอบใหม่ในครั้งต่อไป โดยไม่มีการคืนค่าธรรมเนียม

Q: หากสอบผ่านจะมีใบประกาศให้หรือไม่?
A: LCM จะมีการมอบใบประกาศรับรองเมื่อผ่านการสอบในแต่ละระดับ โดยแบ่ง Award เมื่อผ่านออกเป็นเปอร์เซนต์ดังนี้ ผ่าน Pass 65-74% , ผ่าน Merit 75-84% , ผ่าน Distinction 85-100%

Q: ใบประกาศรับรองสามารถนำไปใช้อะไรได้บ้าง?
A: การสอบและได้รับใบประกาศรับรองการสอบจาก LCM มีความเป็นมาตรฐานสากลที่ได้รับรองจากทั่วโลก มีการสอบตั้งแต่ระดับเริ่มต้น (Beginner) จนถึงระดับ ปริญญา (Degree) ดังนั้น นักเรียนสามารถนำใบรับรองนี้ ไปใช้ในการประกอบวิชาชีพ หรือ เป็นหลักฐานยืนยันความรู้ กับ สถาบันหรือโรงเรียนต่างๆ ได้

Q: สถานที่สอบที่ไหน และ วันสอบคือเมื่อไหร่?
A: ทางโรงเรียนดนตรีเมโลดิอุส ได้รับอนุญาตให้ใช้เป็นสถานที่สอบของ LCM อย่างเป็นทางการ ด้วยความพร้อมของทางโรงเรียน และ ได้มาตรฐานสากล รวมถึงรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ 
วันที่สอบที่แน่นอน จะได้รับแจ้งจากทาง LCM ล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน

Q: นักเรียนทุกคนที่เรียนดนตรีจะได้สอบวัดระดับทุกคนหรือไม่?
A: ไม่ทุกคน เพราะต้องได้รับการประเมินและเห็นชอบจากคุณครูผู้สอนก่อน

Q: ใครเป็นผู้คุมในการสอบ LCM?
A: ผู้ควบคุมการสอบและให้คะแนน จะเป็นผู้เชียวชาญทางด้านดนตรีจาก LCM, LONDON เช่น ผู้ควบคุมวง (Conductor) , ผู้เชี่ยวชาญระดับสูง (Professor) และหรือผู้ซึ่งได้รับการอบรมและมีความเข้าใจ รวมทั้งประสบการณ์ ที่ยาวนาน จาก London College of Music โดยตรง




วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556

องค์ประกอบการเรียนดนตรีอย่างไรให้สำเร็จ

ปัจจุบันเสียงดนตรีได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้นโดยที่เราอาจไม่ ทันสังเกตุ เสียงริงโทนจากโทรศัพท์ เสียงโฆษณาจากทางโทรทัศน์ การแสดงจากบรรดาศิลปินนักร้อง นักแสดง และนักดนตรี ต่างๆ ทำให้ผู้คนจำนวนไม่น้อยเริ่มสนใจที่จะฟังดนตรีมากขึ้น ดูดนตรีมากขึ้น ซึ่งหลายปีที่ผ่านมาศิลปินไทยและต่างประเทศได้เกิดขึ้นมากมายนับไม่ถ้วน ความหลากหลายของดนตรีมีมากขึ้น เวทีที่เปิดให้นักร้อง นักดนตรีสมัครเล่นก็มีมากมาย จนเกิดเป็นกระแสให้วัยรุ่นมีความอยากเป็นนักร้อง นักดนตรีมากขึ้น จนต้องวิ่งเข้าหาสถานที่ฝึกฝนทางด้านดนตรีซึ่งมีมากมายในเมืองไทย บางส่วนก็ประสบความสำเร็จ แต่บางส่วนก็ต้องเลิกล้มความตั้งใจกลับบ้านไป เพราะเหตุใด?
การเรียนดนตรี ในความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ ยังคงคิดว่าเป็นสิ่งที่ยากมาก ไม่มีพรสวรรค์เลย ไม่มีปัญญาเรียน ไม่สามารถที่จะเข้าถึงได้ สิ่งเหล่านี้เป็นความคิดที่ปิดกั้นตัวเองและปกป้องตนเองจากการล้มเหลวในการ เรียนดนตรีทั้งสิ้น จริงอยู่ผู้เขียนไม่ปฏิเสธเลย ว่าการเรียนดนตรีเป็นสิ่งที่ยาก เนื่องจากเป็นทั้งศาสตร์และเป็นทั้งศิลป์ ที่เกิดจากฝึกฝนทักษะอย่างชำนาญ ประกอบกับความเข้าใจในดนตรีซึ้งเป็นศิลปะและความซาบซึ้งในดนตรี แต่สิ่งที่ยากกว่านี้คือ ความมุ่งมั่น ความอดทนในการฝึกฝน ความมีวินัยในการฝึกอย่างสม่ำเสมอ และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ความรักในดนตรี หากใจไม่รักแล้วทุกสิ่งก็ไม่บังเกิด เหมือนกับโดนขืนใจทุกครั้งยามที่ต้องเล่นดนตรี
นอกเหนือจากสิ่งที่กล่าวมาแล้ว การเรียนดนตรีให้สำเร็จ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีครู อาจารย์ มีผู้แนะนำ คอยสั่งคอยสอน เป็นเหมือนผู้ชี้ทางให้เราเดินไปในทางที่ถูกต้อง ดังนั้นการมีครูที่ดี ที่เก่ง คอยแนะนำจึงเหมือนไกด์นำทางให้เราถึงเป้าหมายได้เร็วขึ้น ไม่เสียเวลาเดินวนไปวนมา หลงทางแล้วหลงทางอีก จนแล้วจนรอดก็ไปไม่ถึงไหนสักที
บรรยากาศในการเรียนดนตรี ก็เป็นสิ่งที่สำคัญมากเช่นเดียวกัน การมีสถานที่ที่ดี เพียบพร้อมไปด้วยอุปกรณ์เครื่องดนตรีที่ดี ส่งเสริมให้มีความอยากเรียนดนตรีมากขึ้น ครั้งหนึ่งผู้เขียนเคยสอนดนตรีตามบ้านของนักเรียน ปรากฎว่าบรรยากาศไม่น่าเรียนเลย เมื่อครูไปถึงนักเรียนยังไม่มีความพร้อมที่จะเรียนดนตรี เพราะผู้ปกครองยังคงปล่อยให้เล่นเกมส์อยู่ ดังนั้นจิตใจผู้เรียนจึงยังจดจ่อกับเกมส์ที่เล่นอยู่ ครั้นพอเริ่มเรียนก็อยากให้เวลาจบเร็วๆ เพราะจะได้กับไปเล่นเกมส์ต่อ ทำให้การเรียนการสอนในวันนั้นไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร บางบ้านผู้เรียนก็เรียนไป แม่ก็เปิดทีวีดู น้องก็วิ่งเล่น สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้การเรียนการสอนไม่ประสบผลสำเร็จทั้งสิ้น ดังนั้นบรรยากาศในเรียนดนตรีจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง
ส่วนเรื่องอุปกรณ์เครื่องดนตรีก็ส่งผลให้การเรียนประสบผลสำเร็จเช่นเดียวกัน ผู้เขียนมักจะยกตัวอย่างเช่นเดียวกับการขับรถยนต์ หากฝึกขับรถยนต์แต่ไม่มีรถยนต์ให้ขับจริงๆก็ไม่มีทางที่จะขับรถยนต์ได้อย่าง แน่นอน จึงตอบคำถามผู้ปกครองบางท่านได้อย่างดีว่าควรมีอุปกรณ์ดนตรีให้ลูกได้ฝึก ก่อนที่จะเริ่มเรียน ไม่ใช่ว่าเอาไว้ให้เล่นเก่งๆก่อนแล้วค่อยซื้อให้ นอกจากนี้อุปกรณ์เครื่องดนตรีที่ดีเปรียบเหมือนรถยนต์เช่นเดียวกัน หากรถที่ขับเป็นรถที่สภาพเก่า ทรุดโทรม ขับยาก พวงมาลัยหนัก เร่งไม่ขึ้น การเดินทางก็จะเติมไปด้วยความยากลำบาก เหนื่อยกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งเราก็มักจะโทษที่รถยนต์ว่าเก่าแล้วไม่ดีแล้ว แต่ในการเรียนดนตรีผู้เรียนอาจไม่ได้คิดเช่นนั้น พอเจอเครื่องดนตรีที่ไม่ดีมักจะโทษตนเองเสียก่อน ว่าเล่นไม่ได้ ไม่มีพรสวรรค์แทน บางทีอาจถึงขั้นเลิกเล่นไปเลยก็เป็นได้
สุดท้ายองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในการเรียนดนตรีก็คือ ตัวผู้เรียนนี่เอง หากไม่มีผู้เรียนแล้วทุกสิ่งที่กล่าวข้างต้นก็ไร้ความหมาย ดังนั้นผู้เรียนที่ดีควรจะมีคุณสมบัติอย่างไร??
การมีใจรักในดนตรีเป็นสิ่งแรกที่ผู้เรียนทุกคนต้องมี เพราะถ้าไม่รักไม่ชอบแล้ว จะยอมเสียเวลามาเรียนทำไม จะยอมอดทนฝึกฝนทำไม ดังนั้นผู้เรียนควรมีใจรักในเสียงดนตรีมากๆ ด้วยการฟังดนตรีมากๆ ดูคอนเสิร์ตอย่างหลากหลายรูปแบบ หากเรียนเครื่องดนตรีชนิดใด ก็ควรฟังผู้อื่นเล่นให้มาก มีผู้กล่าวไว้ว่า หากเปรียบเทียบสัดส่วนระหว่างการดูดนตรี ฟังดนตรี กับการเล่นดนตรีนั้น สัดส่วนที่ว่าจะเป็น 9:1 หมายความว่าให้ดูให้ฟังดนตรี 9 ครั้งแล้วจึงกลับไปปฏิบัติดนตรีเพียง 1 ครั้ง
นอกจากการมีใจรักในดนตรีแล้ว สิ่งสำคัญที่ผู้เรียนจะต้องมีคือ ความมีวินัยในตนเอง และความอดทนอดกลั้น มีผู้กล่าวว่าศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ จะไม่สามารถสร้างสรรค์ผลงานของตนเองได้หากไม่มีวินัยในตนเอง การฝึกฝนดนตรีเป็นประจำนั้นนักดนตรีจะต้องมีระเบียบวินัยในตนเอง บังคับตนเองให้ฝึกซ้อมดนตรีเป็นประจำและสม่ำเสมอ ส่วนความอดทนอดกลั้นนั้น นักดนตรีจะต้องมีความอดทนอย่างมาก บางครั้งนักดนตรีอาจต้องฝึกซ้อมเพลงเพียงประโยคเดียวซ้ำๆเป็นสิบรอบ ร้อยรอบเพื่อจะได้เล่นได้อย่างคล่องแคล่วและชำนาญ รวมถึงการฝึกซ้อมเพลงเป็นร้อยเป็นพันรอบเพื่อที่จะขึ้นแสดงบนเวทีเพียงรอบ เดียวเท่านั้น ดังนั้นนักดนตรีจึงต้องมีความอดทนทำให้มากพอ และอดทนทำให้นานพอ พอที่จะประสบความสำเร็จได้ และท้ายที่สุดจะต้องมีความมุ่งมั่นและมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่ประสบ ความสำเร็จด้วย
ความสำเร็จในการเรียนการสอนดนตรีจะเกิดขึ้นไม่ได้หากขาดองค์ประกอบดังที่ กล่าวมา ไม่ว่าจะเป็นองค์ประกอบด้านผู้สอน บรรยากาศในการเรียนการสอนและอุปกรณ์การเรียน และองค์ประกอบที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ตัวของผู้เรียนเอง

วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประกาศรางวัลปีใหม่ MMS Christmas&New Year Gift 2013

จากการแจกรางวัลช่วงคริสตมาสและปีใหม่ในปีที่ผ่านมา

ทางโรงเรียนฯ ได้ให้เด็กนักเรียนทุกคนได้ร่วมลุ้นกับของขวัญจากทางโรงเรียน แต่ยังเหลือรางวัลที่ ยังไม่ออกอีกหลายรางวัล ทางโรงเรียนฯ จึงนำชื่อนักเรียนทุกคนที่ยังไม่ได้รางวัล มาลุ้นรางวัลด้วยกันอีกครั้ง 
ผลการจับรางวัลโดยครูต้นและครูเก่ง เมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2013 เวลา 14.30 น. ขอแจ้งผลการจับรางวัลดังนี้

ชมวีดีโอการจับรางวัลได้ที่ >> http://youtu.be/wg-bBA-IbAw


รางวัลที่ 1 UKULELE มูลค่ากว่า 2000 บาท จำนวน 1 รางวัล ได้แก่
  1. น้องน็อป ด.ช.พศิน ลาภเอนกอนันนต์ 

รางวัลที่ 2 บัตรชมภาพยนตร์เครือ EGV 2 ที่นั่ง จำนวน 2 รางวัล ได้แก่ 
  1. น้องฟานฟาน ด.ช.อติรุจ ทองธิว 
  2. น้องไนจี้ ด.ญ วรนิษฐา ปานสงค์  
  3. น้องไทเล่อร์ ด.ช. ซาคียาห์ ธนบดีอำพน(

 รางวัลที่ 3 กระเป๋าสะพาย Mickey Mouse จำนวน 2 รางวัล ได้แก่ 
  1. น้องอู๋ ด.ญ. สำเภาแก้ว ฉันทโชติ 
  2. น้องนีร ด.ญ. พิชชาภา เลิศศุภกานต์กุล 

รางวัลที่ 4 กระเป๋าสะพาย M&M จำนวน 2 รางวัล ได้แก่ 
  1. น้องบาส นายชานนท์ ม่วงพลู 
  2. น้องนีออน ด.ญ. อริชา แสงบัวแก้ว 
 รางวัลที่ 5 ของรางวัลจาก ธนาคารธนชาต (สนับสนุนโดยครอบครัวทองธิวครับ)
  1. น้องเก้า ด.ช.กฤตภาส เสือสมิง
  2. น้องปาร์ตี้ ด.ญ. นันท์มนัส เพชรมีค่า
  3. น้องภีม ด.ช. ภีมวัศ โลขันธ์
  4. น้องปาล์ม ด.ช.ธนกฤต ศรจอน
  5. น้องไนท์ ด.ช.ณัฐดนัย วรจักร
(ทุกคนจับได้เอง)

     

    ขอแสดงความยินดีกับทุกคนมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ 

    ขอบคุณครับ 


    ขอขอบคุณ 
    ครูเอ้ - ถ่ายวีดีโอ 
    ครูแมมมี่ - ถ่ายภาพ